วันเสาร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

1. การตั้งสมมติฐานการวิจัย

การตั้งสมมติฐานการวิจัย

แนวคิด
การตั้งสมมติฐานการวิจัย เป็นการปรับปัญหาการวิจัยที่อยู่ในรูปของแนวคิดให้เชื่อมโยงกันในรูปของตัวแปร ทำได้โดยผู้วิจัยได้ทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและประเมินมาดีแล้ว ผนวกกับความรู้ประสบการณ์ของผู้วิจัย แล้วกำหนดเป็นประโยคสมมติฐานที่ดีเหมาะสมกับปัญหา สมมติฐานมี 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ สมมติฐานทางสถิติและสมมติฐานการวิจัย ซึ่งมีหลักการตั้งสมมติฐานทั้ง 2 แบบ คือ แบบอุปมาน (Inductive logic) และแบบอนุมาน (deductive logic)

จุดประสงค์การเรียนรู้
เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม
1. ระบุชนิดของสมมติฐานได้
2. บอกรูปแบบสมมติฐานการวิจัยได้
3. เขียนสมมติฐานทางการวิจัยได้

การตั้งสมมติฐานการวิจัย
สมมติฐานเป็นความคาดหวังในผลที่จะเกิดขึ้นจากการวิจัย เป็นการนำคำอธิบายของทฤษฎีมาทำนาย การเขียนเป็นการนำปัญหาการวิจัยมาเปลี่ยนให้อยู่ในรูปของคำตอบที่คาดเดาไว้อย่างมีเหตุผล สมมติฐานเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของกระบวนการค้นหาความรู้ที่เป็นวิทยาศาสตร์ การตั้งสมมติฐานใช้วิธีการของการอุปมานซึ่งเน้นการสังเกต และการอนุมานซึ่งเน้นการใช้เหตุผลในการวิเคราะห์สิ่งที่สังเกตได้ การทำวิจัยเรื่องหนึ่ง ๆ จะมีสมมติฐานหรือไม่ขึ้นกับระเบียบวิธีวิจัย ถ้ามีสามารถตั้งได้อย่างน้อยหนึ่ง สมมติฐานหรืออาจมากกว่าหนึ่งได้

จุดมุ่งหมายในการตั้งสมมติฐาน
1. เพื่อเป็นการเชื่อมโยงทฤษฎีและข้อเท็จจริงที่สังเกตพบ เช่น จากการศึกษาทฤษฎีแรงจูงใจ อาจนำมาสังเกตข้อเท็จจริงที่เกิดโดยตั้งสมมติฐานว่า "บุคลากรที่มีระดับแรงจูงใจสูงจะมีประสิทธิผลการทำงานสูงกว่าบุคลากรที่มีแรงจูงใจระดับต่ำ" จะเห็นได้ว่าสมมติฐานนั้นสามารถสังเกตได้จากความเป็นจริงโดยผู้วิจัยเขียนให้สอดคล้องกับคำอธิบายของทฤษฎี
2. เป็นการขยายขอบเขตของความรู้ เนื่องจากเขียนสมมติฐานจากการอนุมานทฤษฎี เพื่อสรุปเป็นข้อค้นพบ เป็นการขยายขอบเขตความรู้
3. เป็นเครื่องช่วยชี้ทิศทางของการวิจัยให้ชัดเจนขึ้น ประโยคสมมติฐานจะชี้แนวทางการออกแบบการวิจัย แนวทางการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลตลอดจนการแปลความข้อมูลได้ชัดเจน เช่น "ปัญหาการวิจัยเรื่อง ผลของการสอนอย่างมีแบบแผนในเรื่องการให้นมมารดาในหญิงครรภ์แรกที่มีหัวนมผิดปกติ" จากปัญหาการวิจัยจะทราบว่าในการวิจัยต้องมีการสอนมารดาเรื่องการให้นมมารดาแก่ทารก และวัดผลการสอน แต่เมื่อเขียนสมมติฐานเช่น มารดาหัวนมผิดปกติที่ได้รับการสอนและไม่ได้รับการสอนมีประสิทธิผลในการให้นมมารดาแตกต่างกัน จะเห็นได้ว่าสมมติฐานชี้บอกเราว่าการวิจัยต้องเป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีมารดาหัวนมผิดปกติ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มได้รับการสอนและไม่ได้รับการสอน เมื่อเสร็จสิ้นการทดลองวัดประสิทธิผลการให้นมมารดา จากทั้งสองกลุ่ม นำมาเปรียบเทียบกันโดยใช้สถิติวิเคราะห์ความแตกต่าง ดังนั้น สมมติฐานมีประโยชน์ แก่ผู้วิจัยในการออกแบบการวิจัยด้วย

ลักษณะของสมมติฐานที่ดี
1. ต้องระบุความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ศึกษาคาดหมายล่วงหน้าว่าจะเกิดขึ้น โดยอยู่ในรูป "แตกต่างกัน" "มากกว่า" "น้อยกว่า" "สัมพันธ์กัน" "ขึ้นอยู่กับ" เป็นต้น
2. ความสัมพันธ์ที่กล่าวถึงสามารถทดสอบได้ นั้นคือตัวแปรที่ศึกษาต้องวัดไว้ สังเกตได้ และความสัมพันธ์นั้นวิเคราะห์ได้ด้วยวิธีทางสถิติ
3. ความสัมพันธ์ที่กล่าวถึงมีเหตุผลเหมาะสมสอดคล้องกับผลการวิจัยและทฤษฎีที่นำมาเป็นกรอบความคิดในการวิจัย
4. ประโยคที่เป็นสมมติฐานต้องแสดงความเป็นเหตุเป็นผลที่เหมาะสม น่าเชื่อถือได้

ประเภทขอสมมติฐานในการวิจัย
สมมติฐานในการวิจัยมี 2 ประเภท คือ
1. สมมติฐานทางวิจัย (research hypothesis) เป็นการเขียนคาดการณ์ที่เกิดขึ้น หรือแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัวขึ้นไป เพื่อสื่อให้ผู้อ่านทราบว่า ผู้วิจัยสงสัยและคาดการณ์ประเด็นปัญหาวิจัยแต่ละประเด็นไว้ว่าอย่างไร และแสดงแนวทางการทดสอบปัญหาในแต่ละประเด็นไว้อย่างไร
2. สมมติฐานทางสถิติเป็นการเขียนเพื่อการทดสอบ รูปประโยคจะเป็นข้อความที่กล่าวถึงค่าพารามิเตอร์ (parameters) คือค่าต่าง ๆ ของประชากร เช่น ค่าเฉลี่ย ค่าความแปรปรวน ในรูปพจน์หรือประโยคสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ แบ่งออกเป็น 2 อย่าง คือ
2.1 สมมติฐานศูนย์ (Null hypothesis) จะเขียนในรูปที่ไม่แสดงอิทธิพลของตัวแปรอิสระนั่นคือไม่มีความสัมพันธ์กันระหว่าง………………………… หรือไม่มีความแตกต่างระหว่าง……………………… การเขียน ๆ เป็นรูปสัญลักษณ์ทางสถิติ


H0 : µ1 = µ2


เมื่อ µ1 ค่าเฉลี่ยอัตราเต้นของหัวใจทารกจากมารดากลุ่มที่ 1
µ2 ค่าเฉลี่ยอัตราเต้นของหัวใจทารกจากมารดากลุ่มที่ 2
2.2 สมมติฐานเลือก ได้แก่สมมติฐานทางสถิติ ที่เขียนในรูปที่แสดงความสัมพันธ์หรืออิทธิพลของตัวแปรอิสระเขียนแทนด้วย H1 และมีอยู่ 2 ชนิดด้วยกันคือ
2.2.1 สมมติฐานแบบไม่มีทิศทาง (non - directional hypothesis) เป็นสมมติฐานที่ระบุค่าพารามิเตอร์ค่าใดค่าหนึ่งไม่เท่ากับค่าใดค่าหนึ่ง เช่น


H1 = µ1 ¹ µ2

การทดสอบสถิติของสมมติฐานนี้ เรียกว่าการทดสอบสมมติฐานแบบ 2 ทาง (Two - tailed test)
2.2.2 สมมติฐานแบบมีทิศทาง (Directional hypothesis) ได้แก่ สมมติฐานที่ระบุค่าพารามิเตอร์ค่าใดค่าหนึ่งมากกว่าหรือน้อยกว่า ค่าใดค่าหนึ่ง หรือสัมพันธ์ทางบวก สัมพันธ์ทางลบ เช่น
H1 : µ1 > µ2 หรือ µ1 < µ2

การทดสอบทางสถิติของสมมติฐานนี้เรียกว่าการ ทดสอบสมมติฐานแบบทางเดียว (One - tailed test)
ตัวอย่างสมมติฐานทางวิจัยและสมมติฐานทางสถิติ
สมมติฐานทางวิจัย มารดาครรภ์แรกที่ได้รับการจัดท่าคลอดแตกต่างกันจะมีระยะ
เวลาคลอดระยะที่ 2 แตกต่างกัน
สมมติฐานทางสถิติ


H 0 : µ 1 = µ 2


เมื่อ µ1 = ค่าเฉลี่ยระยะเวลาการคลอดระยะที่ 2 ของมารดากลุ่ม 1
µ2 = ค่าเฉลี่ยระยะเวลาการคลอดระยะที่ 2 ของมารดากลุ่ม 2
ตัวอย่างสมมติฐานไม่ระบุทิศทาง : ระยะเวลาในการคลอดระยะที่ 2 ของมารดาคลอดในท่า
นอนหงาย แตกต่างกับการคลอดท่านอน
ตัวอย่างสมมติฐานไม่ระบุทิศทาง : ระยะเวลาในการคลอดระยะที่ 2 ของมารดาที่คลอดในท่า
นอนหงาย มากกว่า มารดาที่คลอดในท่านอนตะแคงซ้าย

หลักการเขียนสมมติฐานทางการวิจัย
ในการเขียนสมมติฐานทางการวิจัย ผู้วิจัยควรปฏิบัติดังนี้
1. เขียนเป็นประโยคบอกเล่า ที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นและตัวแปรตาม ระบุทิศทางหรือไม่ขึ้นกับเหตุผลทฤษฎีที่นำมาใช้เป็นกรอบในการทำวิจัย
2. เป็นประโยคสั้น ๆ ภาษาเข้าใจง่าย ระบุความหมายชัดเจนในแง่การวัดมากที่สุด
3. เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องในกรอบการวิจัยเรื่องนั้น ๆ
4. อาจเขียนได้หลายข้อ ในปัญหาวิจัยเรื่องหนึ่ง ๆ
5. สมมติฐานทุกข้อที่ตั้งขึ้นต้องทดสอบได้
6. สมมติฐานควรเขียนเรียงลำดับสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย

สมมติฐานต้องตั้งขึ้นก่อนเก็บข้อมูลและสมมติฐานตั้งขึ้นไม่จำเป็นต้องถูกต้องเสมอไป อาจผิดได้ขึ้นกับข้อเท็จจริงของข้อมูล การสมมติฐานที่ตั้งขึ้นสามารถบอกระบุทิศทางได้ชัดเจนจะสามารถเลือกสถิติแบบทดสอบทางเดียว (one - tailed test) ซึ่งจะมีอำนาจการทดสอบ (power of test) สูงกว่าการทดสอบแบบสองทาง

28 ความคิดเห็น:

  1. การวิจัยจำเป็นต้องตั้งสมมติฐานหรือไม่ เพราะอะไร

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. เพราะเป็นการคาดคะเนงานวิจับของเรา

      ลบ
    2. ไม่ระบุชื่อ2 ตุลาคม 2555 เวลา 14:05

      ถ้าเป็นวิจัยเชิงปริมาณ จำเป็นต้องตั้งสมมติฐานก่อน เพื่อเป็นแนวทางหาคำตอบ
      ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพไม่จำเป็นต้องตั้งสมมติฐาน ก็ได้ ควรตั้งเป้ตคำถามนำการวิจัย

      ลบ
  2. ขอบใจนะฉันรู้ว่าเธอทำดีสุดแล้ว

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ16 ตุลาคม 2552 เวลา 19:01

    คือผมอยากรู้ว่า จะตั้งสมมติฐานไงหรอครับ เรื่องเปลือกส้มช่วยดับกลิ่นเหม็นจากขยะ ช่วยบอกหน่อยนะครับ

    ตอบลบ
  4. เช่น เปลือกของกล้วยต่างชนิดกัน มีผลต่อการดับกลิ่นขยะได้ต่างกัน

    ตอบลบ
  5. สวัสดีค่ะ รบกวนผู้รู้ช่วยตอบคำถามทีค่ะ

    คือ ในการตั้งสมมติฐาน เราสามารถถที่จะเลือกตั้งสมมติฐานโดยใช้คำได้หลายๆ คำใช่หรือไม่ค่ะ

    แล้วในการตั้งสมมติฐานเราจะมีวิธีเลือกใช้คำอย่างไร "แตกต่างกัน สัมพันธ์กัน มีอิทธิพลต่อ" คำพวกที่กล่าวมานี่ล่ะค่ะ มีเกณฑ์อะไรมาวัดว่าจะตั้งแบบไหน มันอยู่ที่เราเอง หรือว่ามันอยู่ที่ตรวจเอกสารหรือที่คุ้นคือทบทวนวรรณกรรม หรืออยู่ที่การตั้งแบบสอบถามค่ะ

    ขอบพระคุณค่ะ

    ตอบลบ
  6. ช่วยตั้งสมมติฐานให้หน่อยค่ะ
    เรื่อง การศึกษาพฤติกรรมของผู้ที่เล่นเกมออนไลน์


    ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ
  7. ไม่ระบุชื่อ19 มกราคม 2553 เวลา 19:34

    ช่วยอธิบายเรื่องการเลือกสถิติแบบทดสอบทางเดียวมันมีอำนาจสูงกว่าแบบทดสอบสองทางอย่างไร
    ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ
  8. วิจัยเชิงสำรวจไม่จำเป็นต้องมีสมมติฐานค่ะ

    เนื่องจากเป็นการศึกษาข้อคิดเห็น ความพึงพอใจ ฯลฯ

    ไม่ใช่การวิจัยเพื่อทดลอง หรือ พัฒนา ที่เราจะมีแนวโน้มการวิจัยอยู่แล้วค่ะ

    ตอบลบ
  9. ถ้า สมมุติฐานการวิจัยมีว่า

    ตัวแปรอิสระมีความสัมพันะ์เชิงบวกกับตัวแปรตาม อย่างี้ เป็นสมมุติฐานทางเลือกรึเปล่าค่ะ

    ตอบลบ
  10. ไม่ระบุชื่อ17 สิงหาคม 2553 เวลา 11:55

    สารสกัดจากข่าและพริกไทยจะตั้งสมมติฐานว่าไงดี

    ตอบลบ
  11. ตอนนี้เครียดมากค่ะ....ไม่ค่อยเข้าใจการตั้งสมมติฐาน...
    คิดหลายอันแล้วก็รู้สึกว่ายังไม่ใช่...รบกวนช่วยด้วยนะคะ

    วิจัยที่ศึกษา การศึกษาความต้องการของผู้บริโภคที่มีต่อพิพิธภัณฑ์ราเมน

    ตอบลบ
  12. ช่วยตั้งสมมติฐาน ให้หน่อยได้มั้ยค่ะ

    เรื่องการดำรงชีวิตของชาวบ้านในพื้นที่ป่า ตามแนวพระราชดำริ


    ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ
  13. ช่วยตั้งสมมติฐานให้ด้วยนะคะ

    พอดีทำงานวิจัยเชิงสำรวจ ตอนนี้ส่งโครงร่างวิจัยอยู่ค่ะ ช่วยตั้งสมมติฐานให้

    ด้วยนะคะ ชื่อวิจัย ความพึงพอใจของผู้รับบริการการแพทย์แผนไทย

    เทศบาลตำบลบ้านหนุน ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ
  14. งานวิจัยที่เกี่ยวกับความพึงพอใจในระบบสารสนเทศไม่ต้องมีสมมติฐานใช่มั้ยค่ะ
    แล้วการคำนวนค่าต่างๆควรเป็นแบบไหนดี

    ตอบลบ
  15. การตั้งสมมติฐานขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ เอาแบบง่ายๆ ถ้าไม่มีการเปรียบเทียบ
    ก็ไม่ต้องตั้งสมมติฐานค้า.....

    ตอบลบ
  16. ไม่ระบุชื่อ6 กรกฎาคม 2554 เวลา 16:32

    ช่วยตั้งสมมติฐานในหัวข้อ refractive error ของสายตานักกีฬาให้หน่อยค่ะ เป็นหัวข้องานวิจัยอ่ะค่ะ

    ตอบลบ
  17. ไม่ระบุชื่อ30 กรกฎาคม 2554 เวลา 13:56

    ช่วยตั้งสมมุติฐาน ในหัวข้อสบู่ใช้เอง

    ตอบลบ
  18. ไม่ระบุชื่อ3 กันยายน 2554 เวลา 11:02

    ช่วยตั้งสมมติฐานงานวิจัยฟิสิกส์เรื่อง โครงสร้างบ้านภูไทกะตะ

    ตอบลบ
  19. ไม่ระบุชื่อ29 ตุลาคม 2554 เวลา 16:09

    คือตั้งสมมุติฐานไม่เป็นค่ะทำวิจัยเรื่องโครโมโซมพืชวงศ์กกค่ะ

    ตอบลบ
  20. การทำโครงการแต่ละอย่างอยากขิบหาย

    ตอบลบ
  21. ไม่ระบุชื่อ8 ธันวาคม 2554 เวลา 16:04

    เราจำเป็นต้องตั้งว่า u1หรือu2หรือเปล่าหรือตัวใดก็ได้

    ตอบลบ
  22. ไม่ระบุชื่อ23 ธันวาคม 2554 เวลา 13:02

    ศึกษาการบาดเจ็บจากการฝึกซ้อมกีฬา เขียนสมมติฐานยังไง ดีคับ

    ตอบลบ
  23. เตื่อย ค่ะ

    ตอบลบ
  24. ครูให้ทำ ยากมากเลย

    ตอบลบ
  25. ไม่ระบุชื่อ11 กรกฎาคม 2555 เวลา 23:14

    พฤติกรรมการเปิดรับสื่อโฆษณาบนอินเทอร์เน็ตของนักศึกษามหาลัยรังสิต= จะตั้งสมมติฐานอย่างไรดีอะคับ จากหัวข้อวิจัยข้างต้นนี้

    ตอบลบ
  26. ไม่ระบุชื่อ9 สิงหาคม 2555 เวลา 11:25

    นักท่องเที่นยวชาวต่างชาติที่มีพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเมืองพัทยาต่างกันจะมีการรับรู้ภาพลักษณ์เมืองพัทยาต่างกัน
    ควรใช้สถิติแบบไหนดีค่ะ รบกวนด้วยค่ะ

    ตอบลบ