วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

5. กลุ่มตัวอย่างสำหรับงานวิจัย

กลุ่มตัวอย่างสำหรับงานวิจัย
การกำหนดกลุ่มตัวอย่างมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้เนื่องจากการเก็บข้อมูลกับประชากรทุกหน่วยอาจทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายที่สูงมากและบางครั้งเป็นเรื่องที่ต้องตัดสินใจภายในเวลาจำกัด การเลือกศึกษาเฉพาะบางส่วนของประชากรจึงเป็นเรื่องที่มีความจำเป็น เพื่อให้มีความเข้าใจในการเลือกตัวอย่าง จะขอนำเสนอความหมายของคำที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

ความหมายของคำที่เกี่ยวข้อง
ประชากร (Population) หมายถึง สมาชิกทุกหน่วยของสิ่งที่สนใจศึกษา ซึ่งไม่ได้หมายถึงคนเพียงอย่างเดียว ประชากรอาจจะเป็นสิ่งของ เวลา สถานที่ ฯลฯ เช่นถ้าสนใจว่าความคิดเห็นของคนไทยที่มีต่อการเลือกตั้ง ประชากร คือคนไทยทุกคน หรือถ้าสนใจอายุการใช้งานของเครื่องคอมพิวเตอร์ยี่ห้อหนึ่ง ประชากรคือเครื่องคอมพิวเตอร์ยี่ห้อนั้นทุกเครื่อง แต่การเก็บข้อมูลกับประชากรทุกหน่วยอาจทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายที่สูงมากและบางครั้งเป็นเรื่องที่ต้องตัดสินใจภายในเวลาจำกัด การเลือกศึกษาเฉพาะบางส่วนของประชากรจึงเป็นเรื่องที่มีความจำเป็น เรียกว่ากลุ่มตัวอย่าง

กลุ่มตัวอย่าง (Sample) หมายถึง ส่วนหนึ่งของประชากรที่นำมาศึกษาซึ่งเป็นตัวแทนของประชากร การที่กลุ่มตัวอย่างจะเป็นตัวแทนที่ดีของประชากรเพื่อการอ้างอิงไปยังประชากรอย่างน่าเชื่อถือได้นั้น จะต้องมีการเลือกตัวอย่างและขนาดตัวอย่างที่เหมาะสม ซึ่งจะต้องอาศัยสถิติเข้ามาช่วยในการสุ่มตัวอย่างและการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง

ข้อดีในการเลือกตัวอย่าง
1. ลดค่าใช้จ่าย
2. ลดกำลังคน
3. ได้ข้อมูลเร็ว
4. ได้ข้อมูลจากสิ่งที่ไม่สามารถทำได้
5. เพิ่มความถูกต้อง (Accuracy) ได้ดีกว่าการศึกษาในจำนวนที่มากเกินไป
6. สรุปผลเป็นของประชากรได้ วัดความเชื่อถือได้

การสุ่มตัวอย่าง (Sampling) หมายถึง กระบวนการได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่มีความเป็นตัวแทนที่ดีของประชากร
ประเภทของการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง

วิธีการสุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. การสุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้ความน่าจะเป็น (Nonprobability sampling)

เป็นการเลือกตัวอย่างโดยไม่คำนึงว่าตัวอย่างแต่ละหน่วยมีโอกาสถูกเลือกมากน้อยเท่าไร ทำให้ไม่ทราบความน่าจะเป็นที่แต่ละหน่วยในประชากรจะถูกเลือก การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบนี้ไม่สามารถนำผลที่ได้อ้างอิงไปยังประชากรได้ แต่มีความสะดวกและประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายมากกว่า ซึ่งสามารถทำได้หลายแบบ ดังนี้
1.1 การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental sampling) เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่าง เพื่อให้ได้จำนวนตามต้องการโดยไม่มีหลักเกณฑ์ กลุ่มตัวอย่างจะเป็นใครก็ได้ที่สามารถให้ข้อมูลได้
1.2 การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบโควต้า (Quota sampling) เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยคำนึงถึงสัดส่วนองค์ประกอบของประชากร เช่นเมื่อต้องการกลุ่มตัวอย่าง 100 คน ก็แบ่งเป็นเพศชาย 50 คน หญิง 50 คน แล้วก็เลือกแบบบังเอิญ คือเจอใครก็เลือกจนครบตามจำนวนที่ต้องการ
1.3 การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยพิจารณาจากการตัดสินใจของผู้วิจัยเอง ลักษณะของกลุ่มที่เลือกเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงต้องอาศัยความรอบรู้ ความชำนาญและประสบการณ์ในเรื่องนั้นๆ ของผู้ทำวิจัย การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า Judgement sampling

2. การสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็น (Probability sampling)
เป็นการสุ่มตัวอย่างโดยสามารถกำหนดโอกาสที่หน่วยตัวอย่างแต่ละหน่วยถูกเลือก ทำให้ทราบความน่าจะเป็นที่แต่ละหน่วยในประชากรจะถูกเลือก การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบนี้สามารถนำผลที่ได้อ้างอิงไปยังประชากรได้ สามารถทำได้หลายแบบ ดังนี้
2.1 การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) เป็นการสุ่มตัวอย่างโดยถือว่าทุกๆ หน่วยหรือทุกๆสมาชิกในประชากรมีโอกาสจะถูกเลือกเท่าๆ กัน การสุ่มวิธีนี้จะต้องมีรายชื่อประชากรทั้งหมดและมีการให้เลขกำกับ วิธีการอาจใช้วิธีการจับสลากโดยทำรายชื่อประชากรทั้งหมด หรือใช้ตารางเลขสุ่มโดยมีเลขกำกับหน่วยรายชื่อทั้งหมดของประชากร
2.2 การสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ (Systematic sampling) เป็นการสุ่มตัวอย่างโดยมีรายชื่อของทุกหน่วยประชากรมาเรียงเป็นระบบตามบัญชีเรียกชื่อ การสุ่มจะแบ่งประชากรออกเป็นช่วงๆที่เท่ากันอาจใช้ช่วงจากสัดส่วนของขนาดกลุ่มตัวอย่างและประชากร แล้วสุ่มประชากรหน่วยแรก ส่วนหน่วยต่อๆไปนับจากช่วงสัดส่วนที่คำนวณไว้
2.3 การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified sampling) เป็นการสุ่มตัวอย่างโดยแยกประชากรออกเป็นกลุ่มประชากรย่อยๆ หรือแบ่งเป็นชั้นภูมิก่อน โดยหน่วยประชากรในแต่ละชั้นภูมิจะมีลักษณะเหมือนกัน (homogenious) แล้วสุ่มอย่างง่ายเพื่อให้ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างตามสัดส่วนของขนาดกลุ่มตัวอย่างและกลุ่มประชากร
2.4 การสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster sampling) เป็นการสุ่มตัวอย่างโดยแบ่งประชากร
ออกตามพื้นที่โดยไม่จำเป็นต้องทำบัญชีรายชื่อของประชากร และสุ่มตัวอย่างประชากรจากพื้นที่ดังกล่าวตามจำนวนที่ต้องการ แล้วศึกษาทุกหน่วยประชากรในกลุ่มพื้นที่นั้นๆ หรือจะทำการสุ่มต่อเป็นลำดับขั้นมากกว่า 1 ระดับ โดยอาจแบ่งพื้นที่จากภาค เป็นจังหวัด จาก จังหวัดเป็นอำเภอ และเรื่อยไปจนถึงหมู่บ้าน
นอกจากนี้การสุ่มตัวอย่างยังสามารถเลือกสุ่มตัวอย่างผสมระหว่างแบบง่ายแบบชั้นภูมิและแบบกลุ่มด้วยก็ได้

วันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

4. เล่าเรื่องด้วยภาพจากการอบรมวิจัยฯ ระยะที่ 2 27-29 ก.ค.52

การอบรมเชิงวิจัยปฏิบัติการระยะที่ 2 วันที่ 27-29 ก.ค.52 ที่โรงแรมอิมพิเรียล จ.สกลนคร ลองดูบรรยายการในชั้นเรียน ขาใหญ่ยังเป็น อ.กุสุมาลย์ ทุกคนน่ารักขนาดไหนค่อยๆ ที่ละนิด ..ช่วยเล่าความรู้สึกในการอบรม ได้ทุกความรู้สึก
ภาพแรกดูท่าจะหล่อกว่าใครก็ต้องอาจารย์ใหญ่ หรือผู้อำนวยการของเรา ท่าน ดร.สุขสมัย

ภาพที่ 2 วันแรกของการอบรม เริ่มด้วยการนำเสนอของผู้เข้าอบรม ตื่นเต้นๆ ภาพที่ 3 ผู้ที่หน้าตาดูไม่ค่อยได้ก็ต้องใช้ท่าทางเข้าช่วย ภาพที่ 4 ทีมแรก ผู้กล้าหาญนำเสนอก่อนใคร ภาพที่ 5 ท่านรองผู้อำนวยการโรงเรียนของเรา ภาพที่ 6 เบื้องหลังความตั้งใจเรียนของผู้เข้าอบรม ภาพที่ 7 เร่งงานให้เสร็จจะได้นำเสนอ

ภาพที่ 8 กุสุมาลย์ตั้งใจสุดเลย
ภาพที่ 9 สว่างฯ มีเรื่องเด็ดๆ น่าสนใจของหลายๆ ท่าน คอยดู
ภาพที่ 10 เราทุกคนตั้งใจทำงานให้เสร็จนะคะอาจารย์
ภาพที่ 11 อาจารย์จ๊อบ และผู้เข้าอบรม
ภาพที่ 12 รออีกนิด..มาแล้วบรรยากาศแถวหลังสุดก็ตั้งใจเรียนนะ.

ภาพที่ 13 อาจารย์ทองนั่งหลังสุด กำลังรับโทรศัพท์.....เด็กๆ
ภาพที่ 14 อาจารย์แคนก็ขอนั่งข้างหลัง ได้ยินข่าวว่าเตียม Slide ไม่เสร็จ...จึงตั้งอกและตั้งใจ..เล่นเกมส์
ภาพที่ 15 ทีมนี้โดนอาจารย์กล่าวหาว่าหลายใจ.. จริงๆแล้วมีใจเดียว แต่มี 4 ห้อง
ภาพที่ 16 อาจารย์จ๊อบบอกว่าขอห่างๆ อาจารย์ทองเพื่อแก้ไขภาพลักษณ์บ้าง
ภาพที่ 17 บรรยากาศของวันจันทร์ แม้ทุกคนยังมีพลัง และมุ่งมั่น(แต่ขาดกำลังใจไม่เหมือนระยะที่ 1)
ภาพที่ 18 ทุกคนอยากอยู่แต่ในชั้นเรียน เพราะข้างนอกก็ไม่มีใครให้ถ่ายรูปด้วย
ภาพที่ 19 ท่านรองมาให้กำลังใจทุกวัน พูดถึงทีไร ได้เห็นหน้าทุกครั้ง
ภาพที่ 20 เริ่มต้องวันอังคารมั๊ง ใส่เสื้อสีชมพูแล้ว
ภาพที่ 21 ทุกวันเราตั้งใจทำงาน(เพราะทำยังไม่เสร็จ)
ภาพที่ 23 จารย์จ๊อปไม่มีเสือสีชมพูทำไมไม่บอก..อาจารย์ทอง..

ภาพที่ 24 เรายังมีอีกหลายรูป ตั้งแต่ดูมายังไม่เห็นพี่กุ้งของเราเลย ทำไม่ไม่ยอมถ่ายรูปกับเรา....

วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2552

3. การหาค่าความตรงเชิงเนื้อหา (IOC)

ในงานวิจัย เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลต้องมีความเที่ยงตรงและสมบูรณ์ เครื่องมือต้องมีคุณภาพโดยผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือก่อน เพื่อให้มีความตรง ความเที่ยง ถ้าเป็นเครื่องมือที่วัดความรู้ ต้องมีความยากและอำนาจจำแนกที่ชัดเจน การตรวจสอบเครื่องมือ มีวิธีการดังต่อไปนี้
1. วิธีที่ไม่ใช้สถิติ ใช้การตรวจสอบความครอบคลุมของข้อคำถาม ภาษาที่ใช้เขียน หรือ ภาษาที่พูด

  • การตรวจสอบความครอบคลุมของเนื้อหา อาจจะใช้ผู้เชี่ยวชาญจำนวนกี่คนก็ได้ตามความเหมาะสม

  • ตรวจสอบความถูกต้องของภาษาความเข้าใจของผู้ตอบ ให้ผู้ที่มีคุณสมบัติเหมือนผู้เป็นประชากรหรือผู้ที่ต้องตอบคำถามประมาณ ๒-๓ คน ว่าเข้าใจตรงกันหรือไม่เพียงไร มีความรื่นไหลเพียงใดในการตอบคำถาม
2. วิธีที่ใช้สถิติ
ความตรงเชิงเนื้อหา ใช้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความสอดคล้องแล้วนำผลการตรวจสอบมาคำนวณหาค่าความสอดคล้องระหว่าง ข้อคำถามกับวัตถุประสงค์หรือนิยาม (IOC: Item Objective Conguence Index) หรืออัตราส่วนความตรงเชิงเนื้อหา (CVR: Content Validity Ratio)

การหาค่าความสอดคล้องแบบ IOC
การหาค่าความตรงเชิงเนื้อหา โดยให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบข้อคำถาม ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ ด้านเนื้อหา ด้านวัดผลประเมินผลหรือด้านวิจัย อาจใช้ด้านภาษาด้วย เพื่อพิจารณาด้านภาษาที่ใช้ในข้อคำถาม จำนวนผู้เชี่ยวชาญอย่างน้อย ๓ คน ควรมีคุณสมบัติด้านคุณวุฒิที่จบปริญญาโท และ/หรือ เคยทำวิทยานิพนธ์หรืองานวิจัย ควรประสานกับผู้เชี่ยวชาญก่อนเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญยินดีช่วย ต้องทำคำชี้แจงและหนังสือนำตามหลักปฏิบัติและที่สำคัญ คือ รูปแบบของเครื่องมือที่จะให้ตรวจจะต้องถูกต้องครบถ้วน โดยเฉพาะนิยามหรือวัตถุประสงค์ที่จะให้เปรียบเทียบ การพิจารณาใน ๓ ประเด็น คือ เหมาะสม ไม่เหมาะสม และไม่แน่ใจ โดยพิจารณาข้อคำถามนั้นๆ วัดได้ตรงหรือสอดคล้องกับนิยามหรือไม่ พร้อมกับมีช่องว่างให้กรอกคำเสนอทั้งในรายข้อ รายด้าน และรวมทั้งฉบับ ใช้วิธีการกำหนดเป็นคะแนน


  • ถ้าเห็นด้วย ให้ค่า = 1

  • ไม่เห็นด้วย ให้ค่า = -1 และ

  • ไม่แน่ใจ ให้ค่า = 0




  • พิจารณาคัดเลือกในจุดประสงค์ หรือข้อสอบที่มีคะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ 0.50 ถึง 1.00 ซึ่งแสดงว่าจุดประสงค์นั้นวัดได้ครอบคลุมเนื้อหา หรือข้อสอบนั้นวัดได้ตรงจุดประสงค์ และถ้าข้อใดได้คะแนนเฉลี่ยต่ำกว่า 0.50 ต้องนำไปปรับปรุงแก้ไข เพราะว่ามีความสอดคล้องกันต่ำ

    วันอังคารที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

    2. เรื่องเล่าจากการอบรมงานวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดย สสจ.สกลนคร 2552

    เล่าเรื่องด้วยภาพ การอบรมระหว่างวันที่ 14-18 พ.ค.2552
    ภาพที่ 1 ต้องเป็นประธานหรือผอ.โรงเรียนสุขสมัย ท่านอาจารย์ ดร.สุขสมัย สมพงษ์ เปิดการอบรมและสอนยาวในวันแรกของการประชุม

    ทีมวิทยากรช่วยสอนต้องนั่งเล่นในวันแรก...










    ภาพที่ 2 บรรยากาศห้องเรียนที่ โรงแรมหนองหาร ดิ เอลลิแกนท์ สกลนคร

    ภาพที่ 3 ผู้ร่วมอบรมมีความยินเป็นอย่างยิ่งที่ได้เข้าร่วมการอบรมในครั้งนี้...สังเกตจากรอยยิ้มและแววตา
    ภาพที่ 4 เรามีกำลังใจในการอบรมทุกๆวัน เรามีความมุ่งมั่นในการมาร่วมอบรมทุกวัน ภาพที่ 5-7 บรรยากาศภายในห้องเรียนเราคล้ายๆ กับโรงพยาบาลกุสุมาลย์

    ตั้งใจหน่อยสุดนภา

    ภาพที่ 8 เรามีกำลังใจในการอบรมทุกๆวัน ขอบพระคุณดร.สขสมัย ที่ทำให้เรามีความมุ่งมั่น....????
    ภาพที่ 9-12 เราทำงานกลุ่มอย่างตั้งอกตั้งใจ..(รอถ่ายรูปกับ....กำลังใจ)..ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

    ลอกงานกันได้

    สอนกันเองด้วย

    ขอดูหน่อย

    เมื่อทำงานกันเต็มที่ เหนื่อยก็ได้พัก..


    ภาพที่ 13-15 วันสุดท้ายเราพร้อมนำเสนอ..

    เรามีความสุขในการรับฟัง..พร้อมที่นำเสนอด้วย


    อุไรวรรณ ศรีดามา ผู้เล่าเรื่อง

    • ความรู้สึกถึงการอบรมในครั้งนี้ต่างจากทุกๆ ครั้งมาก คือ 1.เรื่องสถานที่โดยส่วนตัวแล้วชอบนะใกล้ที่ทำงาน 2. ผู้เข้าร่วมอบรมสนุก ร่าเริง และสดใส แม้วัยจะไม่น้อย 3. ทุกคนมีความสุขกับการถ่ายรูปกับดารา 4. ได้รับแจกกระเป๋าน่ารักๆ และ 5. ที่สำคัญทุกคนตั้งใจทำงานมาก

    ถ้าผู้ร่วมอบรมท่านใดต้องการเล่าเรื่อง หรือแสดงความคิดเห็นสามารถ พูดคุยเล่าสู่กันฟังได้ที่หัวข้อ"แสดงความคิดเห็น" ขอบพระคุณค่ะ

    วันเสาร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

    1. การตั้งสมมติฐานการวิจัย

    การตั้งสมมติฐานการวิจัย

    แนวคิด
    การตั้งสมมติฐานการวิจัย เป็นการปรับปัญหาการวิจัยที่อยู่ในรูปของแนวคิดให้เชื่อมโยงกันในรูปของตัวแปร ทำได้โดยผู้วิจัยได้ทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและประเมินมาดีแล้ว ผนวกกับความรู้ประสบการณ์ของผู้วิจัย แล้วกำหนดเป็นประโยคสมมติฐานที่ดีเหมาะสมกับปัญหา สมมติฐานมี 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ สมมติฐานทางสถิติและสมมติฐานการวิจัย ซึ่งมีหลักการตั้งสมมติฐานทั้ง 2 แบบ คือ แบบอุปมาน (Inductive logic) และแบบอนุมาน (deductive logic)

    จุดประสงค์การเรียนรู้
    เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม
    1. ระบุชนิดของสมมติฐานได้
    2. บอกรูปแบบสมมติฐานการวิจัยได้
    3. เขียนสมมติฐานทางการวิจัยได้

    การตั้งสมมติฐานการวิจัย
    สมมติฐานเป็นความคาดหวังในผลที่จะเกิดขึ้นจากการวิจัย เป็นการนำคำอธิบายของทฤษฎีมาทำนาย การเขียนเป็นการนำปัญหาการวิจัยมาเปลี่ยนให้อยู่ในรูปของคำตอบที่คาดเดาไว้อย่างมีเหตุผล สมมติฐานเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของกระบวนการค้นหาความรู้ที่เป็นวิทยาศาสตร์ การตั้งสมมติฐานใช้วิธีการของการอุปมานซึ่งเน้นการสังเกต และการอนุมานซึ่งเน้นการใช้เหตุผลในการวิเคราะห์สิ่งที่สังเกตได้ การทำวิจัยเรื่องหนึ่ง ๆ จะมีสมมติฐานหรือไม่ขึ้นกับระเบียบวิธีวิจัย ถ้ามีสามารถตั้งได้อย่างน้อยหนึ่ง สมมติฐานหรืออาจมากกว่าหนึ่งได้

    จุดมุ่งหมายในการตั้งสมมติฐาน
    1. เพื่อเป็นการเชื่อมโยงทฤษฎีและข้อเท็จจริงที่สังเกตพบ เช่น จากการศึกษาทฤษฎีแรงจูงใจ อาจนำมาสังเกตข้อเท็จจริงที่เกิดโดยตั้งสมมติฐานว่า "บุคลากรที่มีระดับแรงจูงใจสูงจะมีประสิทธิผลการทำงานสูงกว่าบุคลากรที่มีแรงจูงใจระดับต่ำ" จะเห็นได้ว่าสมมติฐานนั้นสามารถสังเกตได้จากความเป็นจริงโดยผู้วิจัยเขียนให้สอดคล้องกับคำอธิบายของทฤษฎี
    2. เป็นการขยายขอบเขตของความรู้ เนื่องจากเขียนสมมติฐานจากการอนุมานทฤษฎี เพื่อสรุปเป็นข้อค้นพบ เป็นการขยายขอบเขตความรู้
    3. เป็นเครื่องช่วยชี้ทิศทางของการวิจัยให้ชัดเจนขึ้น ประโยคสมมติฐานจะชี้แนวทางการออกแบบการวิจัย แนวทางการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลตลอดจนการแปลความข้อมูลได้ชัดเจน เช่น "ปัญหาการวิจัยเรื่อง ผลของการสอนอย่างมีแบบแผนในเรื่องการให้นมมารดาในหญิงครรภ์แรกที่มีหัวนมผิดปกติ" จากปัญหาการวิจัยจะทราบว่าในการวิจัยต้องมีการสอนมารดาเรื่องการให้นมมารดาแก่ทารก และวัดผลการสอน แต่เมื่อเขียนสมมติฐานเช่น มารดาหัวนมผิดปกติที่ได้รับการสอนและไม่ได้รับการสอนมีประสิทธิผลในการให้นมมารดาแตกต่างกัน จะเห็นได้ว่าสมมติฐานชี้บอกเราว่าการวิจัยต้องเป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีมารดาหัวนมผิดปกติ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มได้รับการสอนและไม่ได้รับการสอน เมื่อเสร็จสิ้นการทดลองวัดประสิทธิผลการให้นมมารดา จากทั้งสองกลุ่ม นำมาเปรียบเทียบกันโดยใช้สถิติวิเคราะห์ความแตกต่าง ดังนั้น สมมติฐานมีประโยชน์ แก่ผู้วิจัยในการออกแบบการวิจัยด้วย

    ลักษณะของสมมติฐานที่ดี
    1. ต้องระบุความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ศึกษาคาดหมายล่วงหน้าว่าจะเกิดขึ้น โดยอยู่ในรูป "แตกต่างกัน" "มากกว่า" "น้อยกว่า" "สัมพันธ์กัน" "ขึ้นอยู่กับ" เป็นต้น
    2. ความสัมพันธ์ที่กล่าวถึงสามารถทดสอบได้ นั้นคือตัวแปรที่ศึกษาต้องวัดไว้ สังเกตได้ และความสัมพันธ์นั้นวิเคราะห์ได้ด้วยวิธีทางสถิติ
    3. ความสัมพันธ์ที่กล่าวถึงมีเหตุผลเหมาะสมสอดคล้องกับผลการวิจัยและทฤษฎีที่นำมาเป็นกรอบความคิดในการวิจัย
    4. ประโยคที่เป็นสมมติฐานต้องแสดงความเป็นเหตุเป็นผลที่เหมาะสม น่าเชื่อถือได้

    ประเภทขอสมมติฐานในการวิจัย
    สมมติฐานในการวิจัยมี 2 ประเภท คือ
    1. สมมติฐานทางวิจัย (research hypothesis) เป็นการเขียนคาดการณ์ที่เกิดขึ้น หรือแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัวขึ้นไป เพื่อสื่อให้ผู้อ่านทราบว่า ผู้วิจัยสงสัยและคาดการณ์ประเด็นปัญหาวิจัยแต่ละประเด็นไว้ว่าอย่างไร และแสดงแนวทางการทดสอบปัญหาในแต่ละประเด็นไว้อย่างไร
    2. สมมติฐานทางสถิติเป็นการเขียนเพื่อการทดสอบ รูปประโยคจะเป็นข้อความที่กล่าวถึงค่าพารามิเตอร์ (parameters) คือค่าต่าง ๆ ของประชากร เช่น ค่าเฉลี่ย ค่าความแปรปรวน ในรูปพจน์หรือประโยคสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ แบ่งออกเป็น 2 อย่าง คือ
    2.1 สมมติฐานศูนย์ (Null hypothesis) จะเขียนในรูปที่ไม่แสดงอิทธิพลของตัวแปรอิสระนั่นคือไม่มีความสัมพันธ์กันระหว่าง………………………… หรือไม่มีความแตกต่างระหว่าง……………………… การเขียน ๆ เป็นรูปสัญลักษณ์ทางสถิติ


    H0 : µ1 = µ2


    เมื่อ µ1 ค่าเฉลี่ยอัตราเต้นของหัวใจทารกจากมารดากลุ่มที่ 1
    µ2 ค่าเฉลี่ยอัตราเต้นของหัวใจทารกจากมารดากลุ่มที่ 2
    2.2 สมมติฐานเลือก ได้แก่สมมติฐานทางสถิติ ที่เขียนในรูปที่แสดงความสัมพันธ์หรืออิทธิพลของตัวแปรอิสระเขียนแทนด้วย H1 และมีอยู่ 2 ชนิดด้วยกันคือ
    2.2.1 สมมติฐานแบบไม่มีทิศทาง (non - directional hypothesis) เป็นสมมติฐานที่ระบุค่าพารามิเตอร์ค่าใดค่าหนึ่งไม่เท่ากับค่าใดค่าหนึ่ง เช่น


    H1 = µ1 ¹ µ2

    การทดสอบสถิติของสมมติฐานนี้ เรียกว่าการทดสอบสมมติฐานแบบ 2 ทาง (Two - tailed test)
    2.2.2 สมมติฐานแบบมีทิศทาง (Directional hypothesis) ได้แก่ สมมติฐานที่ระบุค่าพารามิเตอร์ค่าใดค่าหนึ่งมากกว่าหรือน้อยกว่า ค่าใดค่าหนึ่ง หรือสัมพันธ์ทางบวก สัมพันธ์ทางลบ เช่น
    H1 : µ1 > µ2 หรือ µ1 < µ2

    การทดสอบทางสถิติของสมมติฐานนี้เรียกว่าการ ทดสอบสมมติฐานแบบทางเดียว (One - tailed test)
    ตัวอย่างสมมติฐานทางวิจัยและสมมติฐานทางสถิติ
    สมมติฐานทางวิจัย มารดาครรภ์แรกที่ได้รับการจัดท่าคลอดแตกต่างกันจะมีระยะ
    เวลาคลอดระยะที่ 2 แตกต่างกัน
    สมมติฐานทางสถิติ


    H 0 : µ 1 = µ 2


    เมื่อ µ1 = ค่าเฉลี่ยระยะเวลาการคลอดระยะที่ 2 ของมารดากลุ่ม 1
    µ2 = ค่าเฉลี่ยระยะเวลาการคลอดระยะที่ 2 ของมารดากลุ่ม 2
    ตัวอย่างสมมติฐานไม่ระบุทิศทาง : ระยะเวลาในการคลอดระยะที่ 2 ของมารดาคลอดในท่า
    นอนหงาย แตกต่างกับการคลอดท่านอน
    ตัวอย่างสมมติฐานไม่ระบุทิศทาง : ระยะเวลาในการคลอดระยะที่ 2 ของมารดาที่คลอดในท่า
    นอนหงาย มากกว่า มารดาที่คลอดในท่านอนตะแคงซ้าย

    หลักการเขียนสมมติฐานทางการวิจัย
    ในการเขียนสมมติฐานทางการวิจัย ผู้วิจัยควรปฏิบัติดังนี้
    1. เขียนเป็นประโยคบอกเล่า ที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นและตัวแปรตาม ระบุทิศทางหรือไม่ขึ้นกับเหตุผลทฤษฎีที่นำมาใช้เป็นกรอบในการทำวิจัย
    2. เป็นประโยคสั้น ๆ ภาษาเข้าใจง่าย ระบุความหมายชัดเจนในแง่การวัดมากที่สุด
    3. เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องในกรอบการวิจัยเรื่องนั้น ๆ
    4. อาจเขียนได้หลายข้อ ในปัญหาวิจัยเรื่องหนึ่ง ๆ
    5. สมมติฐานทุกข้อที่ตั้งขึ้นต้องทดสอบได้
    6. สมมติฐานควรเขียนเรียงลำดับสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย

    สมมติฐานต้องตั้งขึ้นก่อนเก็บข้อมูลและสมมติฐานตั้งขึ้นไม่จำเป็นต้องถูกต้องเสมอไป อาจผิดได้ขึ้นกับข้อเท็จจริงของข้อมูล การสมมติฐานที่ตั้งขึ้นสามารถบอกระบุทิศทางได้ชัดเจนจะสามารถเลือกสถิติแบบทดสอบทางเดียว (one - tailed test) ซึ่งจะมีอำนาจการทดสอบ (power of test) สูงกว่าการทดสอบแบบสองทาง