วันอังคารที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

2. เรื่องเล่าจากการอบรมงานวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดย สสจ.สกลนคร 2552

เล่าเรื่องด้วยภาพ การอบรมระหว่างวันที่ 14-18 พ.ค.2552
ภาพที่ 1 ต้องเป็นประธานหรือผอ.โรงเรียนสุขสมัย ท่านอาจารย์ ดร.สุขสมัย สมพงษ์ เปิดการอบรมและสอนยาวในวันแรกของการประชุม

ทีมวิทยากรช่วยสอนต้องนั่งเล่นในวันแรก...










ภาพที่ 2 บรรยากาศห้องเรียนที่ โรงแรมหนองหาร ดิ เอลลิแกนท์ สกลนคร

ภาพที่ 3 ผู้ร่วมอบรมมีความยินเป็นอย่างยิ่งที่ได้เข้าร่วมการอบรมในครั้งนี้...สังเกตจากรอยยิ้มและแววตา
ภาพที่ 4 เรามีกำลังใจในการอบรมทุกๆวัน เรามีความมุ่งมั่นในการมาร่วมอบรมทุกวัน ภาพที่ 5-7 บรรยากาศภายในห้องเรียนเราคล้ายๆ กับโรงพยาบาลกุสุมาลย์

ตั้งใจหน่อยสุดนภา

ภาพที่ 8 เรามีกำลังใจในการอบรมทุกๆวัน ขอบพระคุณดร.สขสมัย ที่ทำให้เรามีความมุ่งมั่น....????
ภาพที่ 9-12 เราทำงานกลุ่มอย่างตั้งอกตั้งใจ..(รอถ่ายรูปกับ....กำลังใจ)..ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

ลอกงานกันได้

สอนกันเองด้วย

ขอดูหน่อย

เมื่อทำงานกันเต็มที่ เหนื่อยก็ได้พัก..


ภาพที่ 13-15 วันสุดท้ายเราพร้อมนำเสนอ..

เรามีความสุขในการรับฟัง..พร้อมที่นำเสนอด้วย


อุไรวรรณ ศรีดามา ผู้เล่าเรื่อง

  • ความรู้สึกถึงการอบรมในครั้งนี้ต่างจากทุกๆ ครั้งมาก คือ 1.เรื่องสถานที่โดยส่วนตัวแล้วชอบนะใกล้ที่ทำงาน 2. ผู้เข้าร่วมอบรมสนุก ร่าเริง และสดใส แม้วัยจะไม่น้อย 3. ทุกคนมีความสุขกับการถ่ายรูปกับดารา 4. ได้รับแจกกระเป๋าน่ารักๆ และ 5. ที่สำคัญทุกคนตั้งใจทำงานมาก

ถ้าผู้ร่วมอบรมท่านใดต้องการเล่าเรื่อง หรือแสดงความคิดเห็นสามารถ พูดคุยเล่าสู่กันฟังได้ที่หัวข้อ"แสดงความคิดเห็น" ขอบพระคุณค่ะ

วันเสาร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

1. การตั้งสมมติฐานการวิจัย

การตั้งสมมติฐานการวิจัย

แนวคิด
การตั้งสมมติฐานการวิจัย เป็นการปรับปัญหาการวิจัยที่อยู่ในรูปของแนวคิดให้เชื่อมโยงกันในรูปของตัวแปร ทำได้โดยผู้วิจัยได้ทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและประเมินมาดีแล้ว ผนวกกับความรู้ประสบการณ์ของผู้วิจัย แล้วกำหนดเป็นประโยคสมมติฐานที่ดีเหมาะสมกับปัญหา สมมติฐานมี 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ สมมติฐานทางสถิติและสมมติฐานการวิจัย ซึ่งมีหลักการตั้งสมมติฐานทั้ง 2 แบบ คือ แบบอุปมาน (Inductive logic) และแบบอนุมาน (deductive logic)

จุดประสงค์การเรียนรู้
เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม
1. ระบุชนิดของสมมติฐานได้
2. บอกรูปแบบสมมติฐานการวิจัยได้
3. เขียนสมมติฐานทางการวิจัยได้

การตั้งสมมติฐานการวิจัย
สมมติฐานเป็นความคาดหวังในผลที่จะเกิดขึ้นจากการวิจัย เป็นการนำคำอธิบายของทฤษฎีมาทำนาย การเขียนเป็นการนำปัญหาการวิจัยมาเปลี่ยนให้อยู่ในรูปของคำตอบที่คาดเดาไว้อย่างมีเหตุผล สมมติฐานเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของกระบวนการค้นหาความรู้ที่เป็นวิทยาศาสตร์ การตั้งสมมติฐานใช้วิธีการของการอุปมานซึ่งเน้นการสังเกต และการอนุมานซึ่งเน้นการใช้เหตุผลในการวิเคราะห์สิ่งที่สังเกตได้ การทำวิจัยเรื่องหนึ่ง ๆ จะมีสมมติฐานหรือไม่ขึ้นกับระเบียบวิธีวิจัย ถ้ามีสามารถตั้งได้อย่างน้อยหนึ่ง สมมติฐานหรืออาจมากกว่าหนึ่งได้

จุดมุ่งหมายในการตั้งสมมติฐาน
1. เพื่อเป็นการเชื่อมโยงทฤษฎีและข้อเท็จจริงที่สังเกตพบ เช่น จากการศึกษาทฤษฎีแรงจูงใจ อาจนำมาสังเกตข้อเท็จจริงที่เกิดโดยตั้งสมมติฐานว่า "บุคลากรที่มีระดับแรงจูงใจสูงจะมีประสิทธิผลการทำงานสูงกว่าบุคลากรที่มีแรงจูงใจระดับต่ำ" จะเห็นได้ว่าสมมติฐานนั้นสามารถสังเกตได้จากความเป็นจริงโดยผู้วิจัยเขียนให้สอดคล้องกับคำอธิบายของทฤษฎี
2. เป็นการขยายขอบเขตของความรู้ เนื่องจากเขียนสมมติฐานจากการอนุมานทฤษฎี เพื่อสรุปเป็นข้อค้นพบ เป็นการขยายขอบเขตความรู้
3. เป็นเครื่องช่วยชี้ทิศทางของการวิจัยให้ชัดเจนขึ้น ประโยคสมมติฐานจะชี้แนวทางการออกแบบการวิจัย แนวทางการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลตลอดจนการแปลความข้อมูลได้ชัดเจน เช่น "ปัญหาการวิจัยเรื่อง ผลของการสอนอย่างมีแบบแผนในเรื่องการให้นมมารดาในหญิงครรภ์แรกที่มีหัวนมผิดปกติ" จากปัญหาการวิจัยจะทราบว่าในการวิจัยต้องมีการสอนมารดาเรื่องการให้นมมารดาแก่ทารก และวัดผลการสอน แต่เมื่อเขียนสมมติฐานเช่น มารดาหัวนมผิดปกติที่ได้รับการสอนและไม่ได้รับการสอนมีประสิทธิผลในการให้นมมารดาแตกต่างกัน จะเห็นได้ว่าสมมติฐานชี้บอกเราว่าการวิจัยต้องเป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีมารดาหัวนมผิดปกติ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มได้รับการสอนและไม่ได้รับการสอน เมื่อเสร็จสิ้นการทดลองวัดประสิทธิผลการให้นมมารดา จากทั้งสองกลุ่ม นำมาเปรียบเทียบกันโดยใช้สถิติวิเคราะห์ความแตกต่าง ดังนั้น สมมติฐานมีประโยชน์ แก่ผู้วิจัยในการออกแบบการวิจัยด้วย

ลักษณะของสมมติฐานที่ดี
1. ต้องระบุความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ศึกษาคาดหมายล่วงหน้าว่าจะเกิดขึ้น โดยอยู่ในรูป "แตกต่างกัน" "มากกว่า" "น้อยกว่า" "สัมพันธ์กัน" "ขึ้นอยู่กับ" เป็นต้น
2. ความสัมพันธ์ที่กล่าวถึงสามารถทดสอบได้ นั้นคือตัวแปรที่ศึกษาต้องวัดไว้ สังเกตได้ และความสัมพันธ์นั้นวิเคราะห์ได้ด้วยวิธีทางสถิติ
3. ความสัมพันธ์ที่กล่าวถึงมีเหตุผลเหมาะสมสอดคล้องกับผลการวิจัยและทฤษฎีที่นำมาเป็นกรอบความคิดในการวิจัย
4. ประโยคที่เป็นสมมติฐานต้องแสดงความเป็นเหตุเป็นผลที่เหมาะสม น่าเชื่อถือได้

ประเภทขอสมมติฐานในการวิจัย
สมมติฐานในการวิจัยมี 2 ประเภท คือ
1. สมมติฐานทางวิจัย (research hypothesis) เป็นการเขียนคาดการณ์ที่เกิดขึ้น หรือแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัวขึ้นไป เพื่อสื่อให้ผู้อ่านทราบว่า ผู้วิจัยสงสัยและคาดการณ์ประเด็นปัญหาวิจัยแต่ละประเด็นไว้ว่าอย่างไร และแสดงแนวทางการทดสอบปัญหาในแต่ละประเด็นไว้อย่างไร
2. สมมติฐานทางสถิติเป็นการเขียนเพื่อการทดสอบ รูปประโยคจะเป็นข้อความที่กล่าวถึงค่าพารามิเตอร์ (parameters) คือค่าต่าง ๆ ของประชากร เช่น ค่าเฉลี่ย ค่าความแปรปรวน ในรูปพจน์หรือประโยคสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ แบ่งออกเป็น 2 อย่าง คือ
2.1 สมมติฐานศูนย์ (Null hypothesis) จะเขียนในรูปที่ไม่แสดงอิทธิพลของตัวแปรอิสระนั่นคือไม่มีความสัมพันธ์กันระหว่าง………………………… หรือไม่มีความแตกต่างระหว่าง……………………… การเขียน ๆ เป็นรูปสัญลักษณ์ทางสถิติ


H0 : µ1 = µ2


เมื่อ µ1 ค่าเฉลี่ยอัตราเต้นของหัวใจทารกจากมารดากลุ่มที่ 1
µ2 ค่าเฉลี่ยอัตราเต้นของหัวใจทารกจากมารดากลุ่มที่ 2
2.2 สมมติฐานเลือก ได้แก่สมมติฐานทางสถิติ ที่เขียนในรูปที่แสดงความสัมพันธ์หรืออิทธิพลของตัวแปรอิสระเขียนแทนด้วย H1 และมีอยู่ 2 ชนิดด้วยกันคือ
2.2.1 สมมติฐานแบบไม่มีทิศทาง (non - directional hypothesis) เป็นสมมติฐานที่ระบุค่าพารามิเตอร์ค่าใดค่าหนึ่งไม่เท่ากับค่าใดค่าหนึ่ง เช่น


H1 = µ1 ¹ µ2

การทดสอบสถิติของสมมติฐานนี้ เรียกว่าการทดสอบสมมติฐานแบบ 2 ทาง (Two - tailed test)
2.2.2 สมมติฐานแบบมีทิศทาง (Directional hypothesis) ได้แก่ สมมติฐานที่ระบุค่าพารามิเตอร์ค่าใดค่าหนึ่งมากกว่าหรือน้อยกว่า ค่าใดค่าหนึ่ง หรือสัมพันธ์ทางบวก สัมพันธ์ทางลบ เช่น
H1 : µ1 > µ2 หรือ µ1 < µ2

การทดสอบทางสถิติของสมมติฐานนี้เรียกว่าการ ทดสอบสมมติฐานแบบทางเดียว (One - tailed test)
ตัวอย่างสมมติฐานทางวิจัยและสมมติฐานทางสถิติ
สมมติฐานทางวิจัย มารดาครรภ์แรกที่ได้รับการจัดท่าคลอดแตกต่างกันจะมีระยะ
เวลาคลอดระยะที่ 2 แตกต่างกัน
สมมติฐานทางสถิติ


H 0 : µ 1 = µ 2


เมื่อ µ1 = ค่าเฉลี่ยระยะเวลาการคลอดระยะที่ 2 ของมารดากลุ่ม 1
µ2 = ค่าเฉลี่ยระยะเวลาการคลอดระยะที่ 2 ของมารดากลุ่ม 2
ตัวอย่างสมมติฐานไม่ระบุทิศทาง : ระยะเวลาในการคลอดระยะที่ 2 ของมารดาคลอดในท่า
นอนหงาย แตกต่างกับการคลอดท่านอน
ตัวอย่างสมมติฐานไม่ระบุทิศทาง : ระยะเวลาในการคลอดระยะที่ 2 ของมารดาที่คลอดในท่า
นอนหงาย มากกว่า มารดาที่คลอดในท่านอนตะแคงซ้าย

หลักการเขียนสมมติฐานทางการวิจัย
ในการเขียนสมมติฐานทางการวิจัย ผู้วิจัยควรปฏิบัติดังนี้
1. เขียนเป็นประโยคบอกเล่า ที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นและตัวแปรตาม ระบุทิศทางหรือไม่ขึ้นกับเหตุผลทฤษฎีที่นำมาใช้เป็นกรอบในการทำวิจัย
2. เป็นประโยคสั้น ๆ ภาษาเข้าใจง่าย ระบุความหมายชัดเจนในแง่การวัดมากที่สุด
3. เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องในกรอบการวิจัยเรื่องนั้น ๆ
4. อาจเขียนได้หลายข้อ ในปัญหาวิจัยเรื่องหนึ่ง ๆ
5. สมมติฐานทุกข้อที่ตั้งขึ้นต้องทดสอบได้
6. สมมติฐานควรเขียนเรียงลำดับสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย

สมมติฐานต้องตั้งขึ้นก่อนเก็บข้อมูลและสมมติฐานตั้งขึ้นไม่จำเป็นต้องถูกต้องเสมอไป อาจผิดได้ขึ้นกับข้อเท็จจริงของข้อมูล การสมมติฐานที่ตั้งขึ้นสามารถบอกระบุทิศทางได้ชัดเจนจะสามารถเลือกสถิติแบบทดสอบทางเดียว (one - tailed test) ซึ่งจะมีอำนาจการทดสอบ (power of test) สูงกว่าการทดสอบแบบสองทาง